เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือค้นหาข้อมูล กรุณาอัพเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน
สิทธิประโยชน์ที่หน่วยงานของท่านจะได้รับในการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังนี้: ส่งคำถามโดยตรงไปยังซัพพลายเออร์ โพสต์คำขอของผู้ซื้อ ดูคำขอของผู้ซื้อ สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ซื้อโดยตรง สมัครตอนนี้!
Bersekutu Bertambah Mutu
("ความเป็นเอกภาพคือพลัง")
มาเลเซีย หรือ Malaysia
-
ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตกบนคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออกบนเกาะบอร์เนียว ระหว่างละติจูดที่ 2 30 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 112 30 องศาตะวันออก
329, 750 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 328, 550 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 1,200 ตารางกิโลเมตร
พรมแดนยาว 2,669 กิโลเมตร ติดกับประเทศ บรูไน (381 กิโลเมตร) อินโดนีเซีย (1,782 กิโลเมตร) ไทย (506 กิโลเมตร) ความยาวชายฝั่ง 4,675 กิโลเมตร (คาบสมุทรมาเลเซีย 2,068 กิโลเมตร มาเลเซียตะวันออก 2,607 กิโลเมตร)
ที่ราบชายฝั่งค่อยๆ ชันขึ้นเป็นทิวเขาและภูเขา
ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เมษายน-ตุลาคม) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม-กุมภาพันธ์)
ดีบุก ปิโตรเลียม ไม้ซุง ทองแดง สินแร่เหล็ก ก๊าซธรรมชาติ บ๊อกไซต์
น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ไฟไหม้ป่า
29,628,392 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556)
1.542% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
มาเลเซีย (Malaysian (s))
มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน (แต้จิ๋ว จีนกลาง ฮกเกี้ยน ฮักกา ไห่หนาน ฟูโจว์) ทมิฬ
ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เมืองราชการคือ เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 จากสหราชอาณาจักร
ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 แต่มีการแก้ไขหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2550
มาเลเซียมีระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang-diPertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2011 นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
กฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) โดยมีการใช้กฎหมายอิสลาม (Islamic Law) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิม (ครอบครัวและศาสนา) ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
ระบบ 2 สภา (Bicameral Parliament หรือ Parlimen) ประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate หรือ Dewan Negara) ซึ่งมีสมาชิก 70 ที่นั่ง กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง 44 ที่นั่ง อีก 26 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งของตัวแทน 13 รัฐ วาระ 3 ปีและสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระเท่านั้น และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives หรือ Dewan Rakyat) สมาชิกจำนวน 222 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2013
ประเทศมาเลเซียบนคาบสมุทรเพนนินซูลา ศาลแพ่งประกอบด้วย ศาลสหพันธรัฐ (Federal Court) ศาลอุทธรณ์ และศาลสูง สำหรับศาลของซาบาห์และซาราวัคบทเกาะบอร์เนียวประกอบด้วยศาลฎีกา ซึ่งผู้พิพากษาได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ศาลชาเรีย (Sharia Courts) ประกอบด้วย ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา และศาลระดับรัฐ (Subordinate Courts at State-Level) ตัดสินคดีความเกี่ยวกับศาสนาและครอบครัวสำหรับมุสลิม คำพิพากษาจากศาลชาเรียไม่สามารถนำมาอุทธรณ์ในศาลแพ่งได้
มีรากฐานมาจากกฎหมายโรมัน-ดัทช์ (Roman-Dutch Law) และได้รับอิทธิพลมาจากกฏหมายธรรมเนียมประเพณี และยังมีการปรับแต่งกระบวนการทางอาญาใหม่ๆ รวมถึงข้อปฏิบัติในการเลือกตั้ง
-
มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่
พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้ง ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
หลังจาก ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31ตุลาคม 2546 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 มาเลเซียจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (หลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547) ซึ่งผลปรากฏว่า พรรค UMNO และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งชาติ Barison Nasional (BN) ภายใต้การนำของดาโต๊ะซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้รับชัยชนะเหนือพรรคร่วมฝ่ายค้าน (BA) ซึ่งมีพรรค PAS เป็นแกนนำ โดยได้คะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเกิน 2 ใน 3
พรรคฝ่ายค้านยังคงไม่มีศักยภาพเพียง พอที่จะท้าทายอำนาจและเสถียรภาพของรัฐบาล แม้การก้าวลงจากอำนาจของ ดร.มหาธีร์ อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นและคะแนนนิยมของประชาชนต่อพรรค UMNO ในระดับหนึ่ง แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2547 แสดงให้เห็นว่า พรรค UMNO ยังคงสามารถเป็นแกนนำของกลุ่ม BN ในการจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ประเด็นที่จะบั่นทอนเสถียรภาพและความมั่นคงของพรรครัฐบาลและพรรค UMNO ที่สำคัญได้แก่ ความแตกแยกภายในพรรค UMNO เอง ซึ่งยังคงมีอยู่ในระดับหนึ่งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่ลงรอยกันระหว่าง กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ภายในพรรค แม้ว่าจะไม่ปรากฏให้เห็นภาพความขัดแย้งที่แจ้งชัด
เมื่อวันที่ 13-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พรรค UMNO ได้จัดการประชุมสมัชชาพรรคสมัยสามัญประจำปี 2549 โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะหัวหน้าพรรค UMNO ได้รายงานผลงานและความพยายามของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค UMNO ว่า (1) ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้แก่ประชาชน อาทิ การนำเสนอมาตรการในแผนพัฒนามาเลเซีย ฉบับที่ 9 (2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมการศึกษา (3) ย้ำความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการสร้างแหล่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ใหม่ ๆ และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (4) ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคราชการ (5) รัฐบาลได้เปิดกว้างรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นทั้งจาก ส.ส. และจากประชาชน (6) ใช้แนวทางทางการทูตและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และย้ำว่าชาวมุสลิมควรปรองดองกัน (7) ส่งเสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติ (8) ย้ำหลักการอิสลามสายกลาง หรือ Islam Hadhari
ที่ประชุมพรรค UMNO ยืนยันให้การสนับสนุนหัวหน้าพรรค แต่หลีกเลี่ยงการกล่าวโจมตี ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพรรค UMNO ที่ในระยะหลังมีความคิดขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน (ตุน ดร.มหาธีร์ฯ มิได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เพราะอยู่ในช่วงพักรักษาตัวจากโรคหัวใจ) แม้พรรค UMNO จะสนับสนุนคนเชื้อสายมาเลย์ แต่พรรคก็ต้องระมัดระวังในการรักษาความสมดุลระหว่างคนเชื้อชาติอื่น ๆ ในมาเลเซียด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ในการอภิปรายระหว่างการประชุมครั้งนี้ สมาชิกบางกลุ่มได้กล่าวโจมตีสิทธิของคนเชื้อชาติอื่น ๆ ทำให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวในวันปิดประชุมว่าสมาชิกพรรคต้องคำนึงถึง สิทธิของคนเชื้อชาติต่างๆ อย่างเป็นธรรม
นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บาดาวี ได้ปรับคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาล ในการนี้มีรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งใหม่รวม 22 ตำแหน่ง (รัฐมนตรีว่าการ 7 ตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ 15 ตำแหน่ง) โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียยืนยันว่าการแต่งตั้งและปรับเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรง ตำแหน่งต่าง ๆ ได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความรับผิดชอบ และที่สำคัญต้องทำงานเป็นทีมได้ ส่วนบุคคลที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ดาโต๊ะ ซรี ราฟิดาห์ อาซิซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในคณะ รัฐมนตรีมานานกว่า 24 ปี ก็ยังดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ แม้ก่อนหน้านี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการออกใบอนุญาต นำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศจนเกิดความขัดแย้งกับ ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในการนี้ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ให้เหตุผลว่ารัฐบาลมาเลเซียจำเป็นต้องพึ่งพาผู้มีประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของประชาคมธุรกิจระหว่างประเทศอย่างดาโต๊ะ ซรี ราฟิดาห์ อย่างไรก็ตาม การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายหลักของรัฐบาลมาเลเซีย รวมทั้งจะไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียและไทย/p>
ในอนาคตอันใกล้ ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่ามาเลเซียจะมีความขัดแย้งกับต่างประเทศจนถึงกับต้อง ใช้กำลังทหารในการเผชิญหน้า เนื่องจากมาเลเซียย้ำเสมอว่าต้องการใช้กรอบเจรจาทางการทูตมากกว่าการใช้ กำลังพล แต่อาจจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง การลักลอบค้าแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งมาเลเซียพยายามจะใช้การเจรจาทวิภาคีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้ประกาศยุบสภาสมัยที่ 11 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 ซึ่งถือเป็นการประกาศยุบสภาก่อนที่จะหมดวาระตามปกติถึง 25 เดือน (หมดวาระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2552)
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 ของมาเลเซียมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2551 โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 222 ที่นั่ง และสมาชิกสภานิติบัญญัติใน 12 รัฐ จำนวน 505 คน โดยพรรคร่วมรัฐบาล Barisan National (BN) หรือพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งนำโดยพรรค UMNO ได้รับเลือก 140 ที่นั่ง ซึ่งน้อยกว่าที่เคยได้รับเลือกในปี 2547 อย่างไรก็ดี ยังคงมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดย ครม. ชุดใหม่นี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการ 32 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ 37 คน รวม 69 คน และมีดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตุน ราซัค ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และมีดาโต๊ะ ซรี ดร. อูตามา ราอิส ยาติม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้ประกาศส่งมอบตำแหน่งประธานพรรค UMNO ให้แก่ ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค และได้ส่งมอบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552
ปัจจุบัน ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของมาเลเซีย โดยมี ดาโต๊ะ ซรี ดร.อาหมัด ซาฮิด ฮามิดิ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ดาโต๊ะ อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เดิมนโยบายต่างประเทศของมาเลเซียมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การปกป้องและส่งเสริม ผลประโยชน์แห่งชาติด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และผลประโยชน์ที่สำคัญอื่น ๆ แต่เมื่อดาโต๊ะ ซรี ดร.มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อปี 2524 นโยบายต่างประเทศมาเลเซียได้เน้นความสำคัญด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังส่งเสริมความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มแข็ง (strong and nationalistic defense) เพื่อรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (south-south cooperation) มาเลเซียเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่อาจบั่นทอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกคือราคา น้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่ประเทศกำลังพัฒนา และอาจเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันและความขัดแย้งในการแย่งชิงตลาดและทรัพยากร ธรรมชาติ ซึ่งมาเลเซียเห็นว่าสหประชาชาติต้องเตรียมรับมือกับประเด็นดังกล่าวที่อาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ในอนาคต
มาเลเซียเห็นว่าหลักการ Islam Hadhari หรืออิสลามสายกลางจะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระหว่างประเทศ เพราะหลักการดังกล่าวเน้นการสร้างความก้าวหน้าและการพัฒนาโดยส่งเสริมการ ศึกษา การแสวงหาความรู้ และการใช้หลักธรรมาภิบาล ตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่มีผู้คนหลายเชื้อชาติและศาสนา นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวในหลายวาระโอกาสว่ามาเลเซียเป็นพหุสังคมที่ ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติเพราะเข้าใจคุณค่าของความแตกต่างซึ่งเป็น จุดแข็งข้อหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ซึ่งประชาคมโลกน่าจะทำความเข้าใจในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันมิให้ช่องว่างระหว่างโลกมุสลิมและโลกตะวันตก ขยายตัวขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมากล่าวได้ว่ามาเลเซียประสบความสำเร็จในเวทีระหว่างประเทศ อย่างสูง โดยสามารถสร้างบทบาทให้เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำประเทศกำลังพัฒนาและเป็น ประเทศมุสลิมสายกลางซึ่งมีแนวนโยบายสอดคล้องกับประเทศตะวันตกในเรื่องของการ ต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้มาเลเซียสามารถมีบทบาทนำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้ทั้งในกรอบของ โลกมุสลิมและโลกตะวันตก
492.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
16,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
4.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
1.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
3.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
1.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
53.5% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
22.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
247 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ การผลิตปิโตรเลียมและก๊าซเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันปาล์ม ยาง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
202.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก พาหนะ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์
ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit)
MYR
คลิกเพื่อตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย
มาเลเซียได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020 คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ (National Vision Policy: NVP) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น "ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน" โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและขาด ประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม โดยจะเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าและวิจัย (R & D) และเทคโนโลยีสูง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) กระตุ้นและเพิ่มพลวัตรของภาคการเกษตร การผลิต และการบริการโดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการ เพิ่มการมีส่วนร่วมของภูมิบุตร ในภาคเศรษฐกิจชั้นนำ และปรับให้มีการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society)ในช่วงที่ผ่านมามาเลเซียมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองที่ไม่ราบรื่น นักกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศตะวันตกมองว่ารัฐบาลมาเลเซียมักใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคง ภายใน (Internal Security Act - ISA) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มาเลเซียถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศ และประเทศตะวันตกมักใช้ double standard ในการดำเนินนโยบายกับประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ วิกฤตการณ์ด้านการเงินและการคลังที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปิดเสรีด้านการเงินและการคลัง ซึ่งประเทศตะวันตกผลักดันอย่างแข็งขัน
แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและส่งผลให้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2545 แต่ความสำเร็จดังกล่าวยังมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ แฝงอยู่ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียโดยรวมได้ อาทิ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (mega projects) ของรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่หากโครงการเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อาทิ โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้งานไม่ถึงครึ่งของขีดความสามารถและยังไม่สามารถดึงดูดให้สาย การบินหลักๆ มาใช้บริการ โครงการ Cyberjaya ซึ่งยังไม่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำของโลกให้เข้ามาลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ กำหนด เป็นต้น
ในช่วงปี 2549 - 2550 สภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากอัตราการว่างงานที่ลดลง รายได้ประชาชาติต่อหัว การกระจายรายได้ และรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวที่เพิ่มขึ้น การลงทุนของบริษัทเอกชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่มีปริมาณเพิ่ม ขึ้น และการได้ดุลบัญชีเดินสะพัด รวมทั้งการปรับอันดับความสามารถในการแข่งขัน (world competitive rankings) จากอันดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2548 เป็นอันดับที่ 19 ในปี 2551 เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางการมาเลเซียคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 9 (ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 - 2553) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และการขยายตัวของธุรกิจภาคบริการและภาคการก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยชดเชยกับภาวะซบเซาและการขยายตัวในอัตราที่ต่ำลงของธุรกิจและ กิจกรรมในภาคเกษตรกรรม เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยจากภายนอกประเทศ (อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำและราคาน้ำมันแพง) โดยจะมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 - 4 และการขยายตัวในธุรกิจการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 - 10
เศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ มากนัก เนื่องจากภาคการเงินและการธนาคารสามารถป้องกันผลกระทบจากสหรัฐฯ และยุโรปได้ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซียประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจโลกถดถอย จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคบริการ (เช่น การท่องเที่ยว และการขนส่ง) และทำให้เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวได้น้อยลง ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้นำนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มาปรับใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การลดอัตราดอกเบี้ย การส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เอเชียตะวันออก อินเดีย และตะวันออกกลาง และการส่งเสริมการลงทุนจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ดี ความมั่นคงทางการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติ จะใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเข้าไปลงทุนในมาเลเซีย
ปี 2551 การค้าไทย-มาเลเซียมีมูลค่า 19,636.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 19.47
ปี 2551 ไทยส่งออกไปมาเลเซียมูลค่า 9,910.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 26.75
ปี 2551 ไทยนำเข้าจากมาเลเซียมูลค่า 9,726.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.87
ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับมาเลเซีย ในปี 2551 ไทยได้ดุลการค้าดุลมูลค่า 184.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา
น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
ในปี 2551 นักลงทุนมาเลเซียได้รับอนุมัติจาก BOI จำนวน 46 โครงการ (จาก 40 โครงการที่ยื่นขอ) คิดเป็นมูลค่า 25,219.1 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 39.3 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ในปี 2551 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทย 1.89 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียประมาณ 1.49 ล้านคน (สถิติปี 2551)
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas - JDS) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส) กับ 4 รัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และเประ เฉพาะอำเภอเปิงกาลันฮูลู) โดยมีโครงการความร่วมมือหลายสาขา อาทิ การพัฒนาโครงการพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเกษตร ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น ความร่วมมือในกรอบ JDS จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย -มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2536
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500 เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์คนปัจจุบันคือ นายธนะ ดวงรัตน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง (สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู) และมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี (ซึ่งมีดาโต๊ะ ชาซรีล เอสเคย์ บิน อับดุลลาห์ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นหัวหน้าสำนักงาน) สำหรับหน่วยงานของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย (เอกอัครราชทูตมาเลเซียคนปัจจุบันคือ ดาโต๊ะ ชารานี บิน อิบราฮิม) และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียได้พัฒนาแน่นแฟ้นจนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่แม้ว่าสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ก็ยังคงมีประเด็นปัญหาในความสัมพันธ์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข อาทิ การปักปันเขตแดนทางบก บุคคลสองสัญชาติ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
นโยบายของไทยต่อมาเลเซียเน้นมุ่งส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งให้ความสัมพันธ์ทุกระดับงอกงามอยู่บนพื้นฐานของ การใช้เหตุผล เคารพซึ่งกันและกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี เพราะเหตุการณ์ในประเทศหนึ่งย่อมจะส่งผลเกื้อหนุนหรือกระทบต่ออีกประเทศ หนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย
เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900