เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือค้นหาข้อมูล กรุณาอัพเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน
สิทธิประโยชน์ที่หน่วยงานของท่านจะได้รับในการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังนี้: ส่งคำถามโดยตรงไปยังซัพพลายเออร์ โพสต์คำขอของผู้ซื้อ ดูคำขอของผู้ซื้อ สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ซื้อโดยตรง สมัครตอนนี้!
-
-
-
ตั้งอยู่ในแนวศูนย์สูตรทางฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล3,000-5,000 ฟุต มีชายแดนทางทิศเหนือติดกับเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับโซมาเลีย ทิศใต้ติดกับแทนซาเนีย ทิศตะวันตกติดกับยูกันดาและทะเลสาบวิคตอเรีย และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับซูดาน
569,259 ตารางกิโลเมตร
-
-
-
-
-
45.0 ล้านคน (ประมาณการปี 2557) คนไทยในเคนยา ประมาณ 55 คน
-
-
อังกฤษ
เคนยามีระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยรัฐธรรมนูญได้แบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นายอุฮูรู มุยไก เคนยัตตา (Uhuru Muigui Kenyatta) (ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556)
กรุงไนโรบี (Nairobi)
12 ธันวาคม
-
-
-
-
-
นายอูฮุรุ เคนยัตตา (Uhuru Kenyatta) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 9 เมษายน 2556
อะมีนา โมฮาเหม็ด (Amina Mohamed ) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 20 มีนาคม 2556
25 กรกฎาคม 2510
-
นโยบาย “วิสัยทัศน์ 2030” ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐเคนยา เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556 (ค.ศ. 2013) นาย Uhuru Kenyatta ได้สานต่อและดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในด้านต่าง ๆ ตามนโยบาย วิสัยทัศน์ 2030 (“Vision 2030” ) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาประเทศที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Kibaki ตั้งแต่ปี 2549
(ค.ศ. 2006) เพื่อพัฒนาประเทศเคนยาไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมที่มีรายได้ระดับกลางแห่งใหม่และสามารถประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนได้ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) โดยนโยบายนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และตั้งอยู่บนเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
วิสัยทัศน์ 2030 จัดทำขึ้นโดยให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเคนยาได้ผ่านการลงประชามติเห็นชอบจากประชาชนเมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2553 (ค.ศ. 2010) โดยเน้นการเพิ่มอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น การแบ่งสรรอำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการให้ชัดเจน และเพิ่มระบบการตรวจสอบความโปร่งใส ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน โดยมีรูปแบบการบริหารประเทศคล้ายกับสหรัฐอเมริกา คือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระ
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 เคนยาได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี ผลปรากฏว่า นาย Uhuru Kenyatta อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และนาย William S. Ruto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี
นโยบายต่างประเทศของเคนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหลัก โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
เคนยาส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและภายในภูมิภาค โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในหลากหลายองค์กร อาทิ ประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community: EAC) กลุ่มตลาดร่วม แห่งแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa: COMESA) Intergovernmental Authority on Development (IGAD) และ Indian Ocean Rim Association for Regional Co-operation (IOR-ARC) ความร่วมมือเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเคนยายังคงพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เคนยายังได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์ และทุนนิยมทำให้ต้องปรับบทบาทด้านการต่างประเทศ โดยยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เคนยายังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ในซูดาน เซาท์ซูดานและโซมาเลีย
เคนยาส่งเสริมบทบาททางการทูตในกรอบพหุภาคี โดยมุ่งปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ และสหภาพแอฟริกา ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาคมโลกมีการจัดระเบียบการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก อาทิ การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การต่อต้านโจรสลัด
หลังจากที่เคนยาประสบปัญหาความไม่สงบในประเทศหลังจากการเลือกตั้งปี 2550 (ค.ศ.2007) ทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือทางการเมือง เศษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความปลอดภัยในเคนยาในสายตาประชาชมระหว่างประเทศลดลง ดังนั้น เคนยาจึงกำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ และสร้างความเชื่อมั่นในประชาคมระหว่างประเทศ โดยเน้นการกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และภายในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งเพิ่มบทบาทของ EAC ในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เคนยายังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้
เคนยาเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อสถานการณ์ความไม่สงบในในโซมาเลีย และปัญหา โจรสลัดโซมาเลีย เนื่องจากมีพรมแดนทางบกและทางทะเลติดต่อกับโซมาเลีย จึงได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวในหลายทาง แม้ว่าเคนยาจะประกาศยกเลิกบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการรับฟ้องและดำเนินคดี โจรสลัดโซมาเลียในศาลเคนยากับประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 (ค.ศ. 2009) แต่ในความเป็นจริง เคนยายังคงรับดำเนินดดีโจรสลัดอยู่ ขณะนี้มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลราว 20 คดี และมีผู้ต้องขังทั้งถูกตัดสินโทษและอยู่ระหว่างการรอคำตัดสินทั้งสิ้นกว่า 100 คน และเมืองมอมบาซาเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการต่อต้านโจรสลัด ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและประเทศตะวันออกกลางรอบทะเลแดง (Djibouti Code of Conduct)
นอกจากนี้ เคนยายังต้องรับภาระผู้ลี้ภัยสงครามและความแห้งแล้งในโซมาเลียจำนวนมากที่สุด ประมาณ 620,148 คน[1] แต่เดิม เคนยาพยายามไม่เข้าไปมีบทบาทในโซมาเลียอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนกันยายน 2554 (ค.ศ. 2011) กลุ่ม al-Shabaab ซึ่งเป็นกลุ่มหัวรุนแรงในโซมาเลีย หนึ่งในเครือข่ายของกลุ่มก่อการร้ายal-Qaeda ได้บุกเข้ามาจับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและเจ้าหน้าที่องค์กร
การกุศลในพื้นที่ตอนเหนือของเคนยาเป็นตัวประกัน ทำให้รัฐบาลเคนยาตัดสินใจส่งกองกำลังทหารเข้าไปในโซมาเลียเพื่อปราบปรามกลุ่ม al-Shabaab โดยได้รับการสนับสนุนอย่างไม่เป็นทางการจากสหรัฐฯ และ และประเทศในยุโรป ปฏิบัติการข้างต้นทำให้เคนยาตกเป็นเป้าหมายก่อการร้ายใหม่ของกลุ่ม al-Shabaab โดยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นต้นมา เกิดเหตุระเบิดหลายสิบครั้งในกรุงไนโรบี เมือง Garissa ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเคนยา และเมืองมอมบาซา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ผลจากการที่เคนยาไม่ยอมถอนทหารออกจากโซมาเลีย ทำให้สมาชิกกลุ่มติดอาวุธ al-Shabaab นำกำลังเข้ายึดห้างสรรพสินค้า Westgate Shopping Mall ในกรุงไนโรบีของเคนยา และได้ควบคุมประชาชนส่วนที่เหลือเป็นตัวประกันนาน 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 21 ถึง 24 กันยายน 2556 ส่งผลให้ประชาชนชาวเคนยาและชาวต่างชาติเสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มก่อการร้าย al-Shabaab ได้ออกแถลงการณ์กล่าวอ้างความรับผิดชอบ และระบุว่าปฏิบัติการครั้งนี้ถือเป็นการทวงคืนความยุติธรรม เนื่องจากได้เตือนรัฐบาลเคนยาให้ถอนกำลังออกจากโซมาเลียหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง
หลังจากเหตุการณ์ที่ Westgate Shopping Mall กลุ่มก่อการร้าย al-Shabaab ได้ยกระดับการก่อความรุนแรง รวมถึงการคุกคามประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 เป็นต้นมา ภัยจากอาชญากรรมและการก่อการร้ายในเคนยาทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเมืองมอมบาซา เมืองท่าสำคัญ และกรุงไนโรบี อาทิ เหตุระเบิดตามสถานที่ต่างๆ การโจมตีเป้าหมายที่เป็นตำรวจ รถยนต์โดยสาร การบุกปล้นบ้านเจ้าหน้าที่ UN-HABITAT เป็นต้น
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2557 รัฐบาลเคนยาเริ่มทำการกวาดล้างและจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการก่อการร้ายอย่างจริงจัง ทั้งผู้นำศาสนาอิสลามคนสำคัญตามเมืองต่าง ๆ และบุคคลอื่นๆ ที่ถูกสงสัยว่าให้การอุดหนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย จนทำให้รัฐบาลถูกประณามจากผู้นำศาสนาอิสลามและชุมชนต่าง ๆ และอาจสร้างความเคียดแค้นโดยกลุ่มที่เป็นฝ่ายเดียวกับบุคคลที่ถูกจับกุม
อนึ่ง เมื่อเย็นวันที่ 1 เม.ย. 2557 Sheikh Abubakar Shariff หรือ Makaburi ผู้นำศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย Al Shabaab อย่างเปิดเผย และต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายหลายกรณี ถูกมือปืนลึกลับสังหารที่เมือง Mombasa ส่งผลให้พรรคพวก ซึ่งรวมถึงนาง Samantha Lewthwaite หรือ “แม่ม่ายขาว” (“White Widow” สตรีชาวอังกฤษ) ซึ่งแหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงระหว่างประเทศระบุว่า เป็นผู้ที่ Makaburi คัดเลือกให้เข้าร่วมสงครามศักดิ์สิทธิ์ และน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย Al-Shabaab ต้องการแก้แค้นการเสียชีวิตของ Makaburi จึงเป็นไปได้ที่จะมีการโจมตีเคนยาครั้งใหญ่อีกครั้งในอนาคตอันใกล้
ภัยจากการก่อการร้ายทำให้วุฒิสมาชิกของเคนยาเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta หามาตรการยับยั้งความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงปรับปรุงอุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย วุฒิสมาชิกบางส่วนต้องการให้ปลด ผบ.ตร. และอธิบดีกรมสืบสวนคดีอาญาของเคนยา เนื่องจากขาดความรับผิดชอบในการรักษาความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อต้านการก่อการร้ายไม่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายได้
อย่างไรก็ดี โฆษกกรมตำรวจเคนยากล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มปฏิบัติการกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยและผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายได้มากกว่า 5,000 คน โดยทางการเคนยาได้เนรเทศออกนอกประเทศ หรือส่งเข้าค่ายผู้อพยพ รวมถึงสอบสวนขยายผลการปฏิบัติการไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ การตรวจสอบธนาคาร ร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา และสถาบันการเงิน ที่ถูกใช้เป็นแหล่งฟอกเงินของกลุ่มก่อการร้าย เป็นต้น
ปัญหาการขาดเอกภาพในการประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง และปัญหาการฉ้อ-ราษฎร์บังหลวงในเคนยา ถูกระบุว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของรัฐบาลเคนยา ในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายในประเทศ นอกจากนี้ เคนยายังมีปัญหาอาชญากรรมภายใน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงและกระทบต่อเศรษฐกิจของเคนยาอย่างรุนแรง
เมื่อวันที่ 27-28 มิ.ย.2557 นาย Ban Ki-moon เลขาธิการสหประชาชาติเยือน กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา หลังจากเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Environment Assembly) ครั้งที่ 1 ณ กรุงไนโรบี ในวันที่ 27 มิ.ย. 2557
สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างนาย Ban Ki-moon และนาย Uhuru Kenyatta ปธน.เคนยา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2557
เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวในงานการยุติการเสียชีวิตของมารดา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2557 เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวแสดงความยินดีต่อความคิดริเริ่มของนาง Margaret Uhuru ภริยาประธานาธิบดี ในการจัดการรณรงค์ที่เรียกว่า Beyond Zero Campaign เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกในเคนยา และชมเชยรัฐบาลเคนยาที่ให้การรับรองนโยบายการให้บริการแก่ผู้เป็นมารดาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงจัดสรรเงินมากกว่า 45 ล้านดอลลาร์สำหรับสุขอนามัยของมารดาสำหรับปีงบประมาณ 2014-2015 สหประชาชาติจะให้การสนับสนุนทั้งโครงการรณรงค์ Beyond Zero Campaign ของสุภาภสตรีหมายเลขหนึ่งของเคนยาและโครงการสุขอนามัยของมารดาของรัฐบาลเคนยาและขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการส่งสารที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดังและชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “No woman should die while giving life”
กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย
เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900