เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือค้นหาข้อมูล กรุณาอัพเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน
สิทธิประโยชน์ที่หน่วยงานของท่านจะได้รับในการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังนี้: ส่งคำถามโดยตรงไปยังซัพพลายเออร์ โพสต์คำขอของผู้ซื้อ ดูคำขอของผู้ซื้อ สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ซื้อโดยตรง สมัครตอนนี้!
สหภาพพม่า หรือ Union of Myanmar
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล ระหว่างประเทศบังกลาเทศและประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 22 00 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 98 00 องศาตะวันออก
678,500 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย) พื้นดิน 657,740 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร
พรมแดนทั้งหมดยาว 5,876 กิโลเมตร ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร) ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล และมความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 1,930 กิโลเมตร
ที่ราบต่ำตอนกลาง ล้อมรอบด้วยหุบเขาชันและขรุขระ (ในลักษณะวงแหวน)
อากาศแบบลมมรสุมเขตร้อน ฤดูร้อนมีเมฆมาก มีฝน และอากาศชื้น (อากาศแบบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน) ในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีเมฆน้อย มีปริมาณฝนไม่มาก ความชื้นต่ำ และอุณหภูมิเย็นสบาย
ปิโตรเลียม ไม่ซุง ดีบุก สังกะสี ทองแดง ทังสเตน ตะกั่ว ถ่านหิน หินอ่อน หินปูน อัญมณี ก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ
แผ่นดินไหวและพายุไซโคลน ทำให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) และจะเผชิญภัยจากความแห้งแล้งเป็นครั้งคราว
55,167,330 (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคม พ.ศ. 2556)
1.07% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
พม่า (Burmese)
เผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม
ภาษาพม่า และชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่มมีภาษาเป็นของตนเอง
เผด็จการทางทหาร (Military Junta) ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
กรุงย่างกุ้ง (Rangoon หรือ Yangon)
4 มกราคม พ.ศ. 2491 จากสหราชอาณาจักร
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ประมุขของรัฐปัจจุบันคือ ประธานสภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (Chairman of the State Peace and Development Council (SPDC) พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Sr. Gen. Than Shwe) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ทำงานในฐานะคณะรัฐมนตรี ไม่มีการเลือกตั้งมาตั้งแต่สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order restoration Council- SLORC ) เข้ายึดอำนาจและดำรงตนอยู่ในตำแหน่งสูงสุดทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ระบบสภาคู่ (Unicameral People's Assembly หรือ Pyithu Hluttaw) ที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2010 ประกอบด้วย สภาสูง (Upper House) ที่มีสมาชิกไม่เกิน 224 ที่นั่ง และสภาผู้แทนราษฎร (Lower House) สมาชิกไม่เกิน 440 ที่นั่ง ตามแผนการของรัฐบาลทหาร จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2010
ศาลฎีกาประชาชน (Supreme People's Court) สภาแห่งชาติเป็นผู้เลือกหัวหน้าผู้พิพากษาโดยได้รับคำแนะนำจากประธานาธิบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
ใช้กฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
อนาคตของกระบวนการปรองดองแห่งชาติและ Roadmap ของรัฐบาลพม่ายังไม่ชัดเจน หลายฝ่ายยังสงสัยในเหตุผลของรัฐบาลพม่าที่จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติแบบ "ปิด ๆ เปิด ๆ" และควบคุมกระบวนการพิจารณาของสมัชชาแห่งชาติอย่างเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การปฏิเสธที่จะให้ความกระจ่างว่าขณะนี้กระบวนการ Roadmap มาถึงขั้นตอนใดและจะใช้เวลาอีกนานเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความสงสัยดังกล่าว นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าได้ปิดช่องทางในการติดต่อพูดจากับโลกภายนอกในเรื่องกระบวนการทาง การเมืองภายในของตน รัฐบาลพม่าต้องการให้ไทยหยุดการดำเนินการในเรื่องการหารือกับประชาคมระหว่าง ประเทศในกรอบ "Bangkok Process" ที่ไทยริเริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2546 และให้สหประชาชาติ ยุติความเคลื่อนไหวในการส่งเสริมกระบวนการปรองดองภายในพม่า
ในการประชุม 3 รอบที่ผ่านมา สมัชชาแห่งชาติได้เห็นชอบหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คืบหน้าไปแล้ว ประมาณร้อยละ 50-70 ของงานที่จะต้องดำเนินการทั้งหมด
ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของกองทัพ นั้น ประเด็นสำคัญคือกำหนดให้มีผู้แทนของกองทัพ ร้อยละ 20 ในสภาสูง และร้อยละ 25 ในสภาผู้แทนราษฎร สงวนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ 3 กระทรวงไว้ให้ผู้แทนของกองทัพ (ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกิจการชายแดน) ประธานาธิบดีจะต้องเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานกองทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดมีอำนาจในการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในส่วนที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย ร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีรัฐ (state) และเขตปกครองตนเอง (autonomous region) แต่ละรัฐ และเขตปกครองตนเองจะมีมุขมนตรี (Chief Minister) เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีสภาท้องถิ่นซึ่งมีผู้แทนของกองทัพอยู่ร้อยละ 25 รัฐบาล รัฐและเขตปกครองตนเองมีอำนาจในการบริหารกิจการท้องถิ่น และที่สำคัญคือให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยวางอาวุธ
อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายเชื่อกันว่ากระบวนการพิจารณาของสมัชชาแห่งชาติจะได้ข้อยุติแล้ว เสร็จเมื่อใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาลเป็นอย่างมากและการหาข้อ ยุติในปัญหาการปกครองพื้นที่ชนกลุ่มน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องหลักที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ ฝ่ายชนกลุ่มน้อยไม่พอใจท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ในเรื่องนี้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้พยายามทำความเข้าใจเพื่อหาข้อยุติกับชนกลุ่ม น้อยในเรื่องนี้
ในการเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐที่กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ผู้นำพม่ากล่าวยืนยันกับนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่ารัฐบาลพม่าจะดำเนินตาม Roadmap ตามแนวทางที่เหมาะสมสำหรับพม่าเอง โดยจะดำเนินการ 3 ประการในการวางรากฐานของประชาธิปไตยของพม่า ได้แก่ (1) การสร้างสันติภาพและความมั่นคง (2) การพัฒนาเศรษฐกิจ (3) การศึกษา พร้อมกับย้ำว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องกระบวนการ (process) ซึ่งต้องค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา
อนึ่ง หลังจากที่ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกมาตลอด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ประกาศในการประชุมรัฐมนตรีอา เซียน ครั้งที่ 38 ที่เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ว่าพม่าขอถอนตัวจากการเป็นประธานอาเซียนในปี 2549 โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลพม่าต้องการมุ่งดำเนินการในเรื่องกระบวนการปรองดอง แห่งชาติ ซึ่งอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าพม่าสามารถกลับมาเป็นประธานอาเซียนเมื่อ ใดก็ได้เมื่อมีความคืบหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า
หลังจากถูกรัฐบาลพม่ากดดันอย่างต่อ เนื่อง พรรค NLD อ่อนแอลงอย่างมาก รัฐบาลพม่ายังคงกักบริเวณนางออง ซาน ซู จี (ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546) นายติน อู และสมาชิกพรรคอีกหลายคน รวมทั้งยังคงปิดสำนักงานสาขาของพรรค ดำเนินการกดดันและจับกุมสมาชิกพรรคที่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ จนบรรดาสมาชิกพรรค NLD จำนวนไม่น้อยต้องลาออกหรือยุติกิจกรรมทางการเมืองของตน ขณะเดียวกันพรรคฯ ก็ขาดช่องทางที่จะติดต่อกับประชาชนหรือดำเนินกิจกรรมกับประชาชน
ในปัจจุบัน รัฐบาลพม่ายังไม่เปิดการติดต่อกับนางออง ซาน ซู จี ตามที่หลายฝ่ายรวมทั้งสหประชาชาติเรียกร้อง และคาดว่าจะยังไม่มีการพบปะเจรจากันและนางออง ซาน ซู จี คงจะยังไม่ได้รับการปล่อยตัวจนกว่าการประชุมสมัชชาแห่งชาติคืบหน้าไปได้ อย่างราบรื่น หรือภายหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการรับรองแล้ว
แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 เขต (division) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า :ดังนี้
# | เมือง | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2549 |
---|---|---|---|
1 | ย่างกุ้ง | 2.513.023 | 4.572.948 |
2 | มัณฑะเลย์ | 532.949 | 1.237.028 |
3 | มะละแหม่ง | 219.961 | 451.011 |
4 | พะโค | 150.528 | 248.899 |
5 | พะสิม | 144.096 | 241.624 |
6 | โมนยวา | 106.843 | 185.783 |
7 | เมกติลา | 96.492 | 181.744 |
8 | ซิตตเว | 107.621 | 181.172 |
9 | มะริด | 88.600 | 177.961 |
10 | ตองยี | 108.231 | 162.396 |
11 | มินยัน | 77.060 | 145.150 |
12 | ทวาย | 69.882 | 140.475 |
89.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
6.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
3.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
5.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
ข้าว เมล็ดพืชประเภทถั่ว ถั่ว งา ถั่วลิสง อ้อย ไม้เนื้อแข็ง ปลาและผลิตภัณฑืจากปลา
แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ทองแดง ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ซีเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง เวชภัณฑ์ ปุ๋ย ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หยกและอัญมณี
4.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
-
-891.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
8.529 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)
ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง สินค้าประมง ข้าว ยาง อัญมณี และแร่ธาตุ
ไทย 36.7% อินเดีย 14.1% จีน 18.8% ญี่ปุ่น 6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
7.137 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯf.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเหล็ก
จั๊ต (Kyat)
MMK
ปี 2551 การค้าไทย-พม่ามีมูลค่า 4,707.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 44.44
ปี 2551 ไทยส่งออกไปพม่ามูลค่า 1,019.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 38.99
ปี 2551 ไทยนำเข้าจากพม่ามูลค่า 2,561.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 46.70
ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับพม่า ในปี 2551 ไทยขาดดุลมูลค่า 2,044.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก
ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า และถ่านหิน
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission - JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง
ในปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 17.28 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด โดยไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากอังกฤษ ( 40 โครงการ 1,569.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสิงคโปร์ (70 โครงการ 1,434.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสาขาพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมง อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม
ไทยและพม่าได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างกันเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ที่กรุงเทพฯ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและพม่าได้ร่วมลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำร่างความตกลงฯ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและลงนามต่อไป
ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กับพม่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 และมีการเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2492 ไทยและพม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน โดยมีความสัมพันธ์กว้างขวางในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบัน นายสุพจน์ ธีรเกาศัลย์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่าและนายเย วิน (U Ye Win) เป็นเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่
รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการต่าง ๆ ได้แก่
ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐ กิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) ไทยและพม่ามีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ (1) การท่องเที่ยว โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างภาค ใต้ของไทย-เมืองทวายในพม่า (2) อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพม่าที่เมืองเมียวดี เมาะลำใย และพะอัน โดยในชั้นนี้เห็นชอบกันที่จะเริ่มดำเนินการที่เมียวดีก่อน (3) พลังงาน มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2548 และการลงนามบันทึกความเข้าใจในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่สาละวิน ฮัจจี และตะนาวศรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 และ (4) เกษตรกรรม ซึ่งมีการจัดทำ Contract Farming ที่เมืองเมียวดี โดยร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะผู้แทนไทยไปหารือกับทาง การพม่าเรื่องโครงการ Contract Farming ที่กรุงย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 28 - 29 กันยายน 2548 นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ให้วงเงินสินเชื่อ (credit line) จำนวน 4,000 ล้านบาทสำหรับพม่าในการซื้อเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาประเทศ จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ไทยได้อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้วร้อยละ 70 หรือประมาณ 2,800 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึง สินค้าเกษตรทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอา เซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences - AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการ และเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548
โดยที่ไทยและพม่ามีพรมแดนติดต่อกัน และประชาชนของทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ในภาพรวม รัฐบาลไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542 นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายแก่วัดในพม่าซึ่งกระทรวงการต่าง ประเทศดำเนินการติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 10 การเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนประเทศไทย การสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศของพม่า การจัดโครงการวาดเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่เยาวชนพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่ายังสามารถสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและ ศาสนาเพิ่มเติมได้อีกเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนของทั้งสอง ประเทศมากขึ้น
ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อพม่า (และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ) เป็นลำดับแรกในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ใน 3 สาขาหลัก คือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยตั้งแต่ปี 2540-2547 ไทยให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พม่าเป็นจำนวนเงิน 92.45 ล้านบาท สำหรับปี 2548 ไทย ให้ความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในไทยจำนวน 164 ทุน นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลไทยยังได้เริ่มให้การสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับครูประถมศึกษาจากพม่าในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรและ โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนในไทยและการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามผลการ ประชุมเชิงปฏิบัติการในสหภาพพม่า
ในด้านความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายา เสพติด เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านยองข่าในรัฐฉาน (เขตของว้า) ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเลือก (alternative development) โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่างเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน พม่าให้เลิกการปลูกฝิ่น และมีการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปลูกพืชผล การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล การสาธารณสุข ฯลฯ (วงเงิน 50 ล้านบาท) แต่ภายหลังการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไป
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและเพื่อความช่วย เหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 รัฐบาลไทยได้บริจาคข้าวสาร 1,000 ตันผ่านองค์การอาหารโลก (World Food Program - WFP) มูลค่า 10.54 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการยุติการปลูก ฝิ่น
ในการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการใน โอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2548 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบเงิน 2 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย Development for National Races อันเป็นสัญลักษณ์ของความสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า ด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอที่จะร่วมมือกับพม่าในงานด้าน มนุษยธรรม โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข อาทิ การพัฒนาโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก ซึ่งผู้นำพม่าเห็นชอบ
กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย
เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900