เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือค้นหาข้อมูล กรุณาอัพเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน
สิทธิประโยชน์ที่หน่วยงานของท่านจะได้รับในการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังนี้: ส่งคำถามโดยตรงไปยังซัพพลายเออร์ โพสต์คำขอของผู้ซื้อ ดูคำขอของผู้ซื้อ สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ซื้อโดยตรง สมัครตอนนี้!
Maka-Diyos, Makatao, Makakalikasan, at Makabansa
(เพื่อพระเจ้า ประชาชน ธรรมชาติ และบ้านเมือง)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) หรือ ฟิลิปปินส์ (the Philippines)
-
ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างละติจูดที่ 13 00 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 122 00 องศาตะวันออก
พื้นที่ 300,000 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย) พื้นดิน 298,170 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 1,830 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7,107 เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว 36,289 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
-
ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบต่ำชายฝั่ง
อากาศเมืองร้อน มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายน-เมษายน และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม-ตุลาคม)
ไม้ซุง ปิโตรเลียม นิกเกิล โคบอลต์ เงิน ทองคำ เกลือ ทองแดง
อยู่ระหว่างแนวเข็มขัดไต้ฝุ่น (Typhoon Belt) ในแต่ละปีจะเผชิญกับพายุไต้ฝุ่น ประมาณ 15 ลูก พายุไซโคลน 5-6 ลูก นอกจากนี้ยังมีดินถล่ม ภูเขาไฟ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง สึนามิ
105,720,644 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556)
1.873% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
ฟิลิปปินส์ (Filipino (s))
ฟิลิปิโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษราชการ และภาษาถิ่นที่ใช้กันมากอีก 8 ภาษา ได้แก่ Tagalog, Cebuano, Ilocano, Hiligaynon or Ilonggo, Bicol, Waray, Pampango, Pangasinan
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (Republic)
กรุงมะนิลา
12 มิถุนายน พ.ศ. 2441 จากสเปน และวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับใช้วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ หัวหน้าคณะรัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐบาลโดยความเห็นชอบจาก Commission of Appointments การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีเป็นการเลือกตั้งต่างวาระ (แบบ Popular Vote) รับตำแหน่งได้วาระเดียว วาระละ 6 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
กฎหมายสเปนและกฎหมายแองโกล-อเมริกัน (Spanish and Anglo-American Law) ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) โดยมีการสงวนสิทธิ์บางประการ
ระบบสภาคู่ (Bicameral Congress หรือ Kongreso) ประกอบด้วย (1) รัฐสภา (the Senate หรือ Senado) สมาชิกจำนวน 24 ที่นั่ง มีการเลือกตั้งกึ่งหนึ่งทุกๆ 3 ปี โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี (2) สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives หรือ Kapulungan Ng Nga Kinatawan) จากผลการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีสมาชิกจำนวน 240 ที่นั่ง โดย 218 ที่นั่งเป็นตัวแทนแต่ละเขต และ 22 ที่นั่งเป็นส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ จากการเลือกตั้งย่อยในอัตราส่วน 1 ที่นั่งทุกๆ ร้อยละ 2 ของการออกเสียงเลือกตั้ง (จำกัดไว้เพียง 3 ที่นั่ง) สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง (Popular Vote) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี (หมายเหตุ- รัฐธรรมนูญระบุจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีได้ไม่เกิน 250 คน) การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
ระบบศาลฎีกา (Supreme Court) ผู้พิพากษา 15 คนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี จากคำแนะนำของ Judicial and Bar Council ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งอายุ 70 ปี ศาลอุทธรณ์ (Court of Appeals) และศาล Sandigan-bayanซึ่งเป็นศาลพิเศษตัดสินคดีฉ้อโกงของข้าราชการ
-
31 เขต 80 จังหวัดและ 120 เมือง (Chartered Cities)
เขต: เขตอีโลกอส (Ilocos Region, Region I) คากายันแวลลีย์ (Cagayan Valley, Region II) เซนทรัลลูซอนคาลาบาร์ซอน (CALABARZON, Region IV-A) มิมาโรปา (MIMAROPA, Region IV-B) เขตบีโกล (Bicol Region, Region V) เวสเทิร์นวิซายา (Western Visayas, Region VI) เซนทรัลวิซายา (Central Visayas, Region VII) อีสเทิร์นวิซายาคาบสมุทรซัมโบอังกา (Zamboanga Peninsula, Region IX) นอร์เทิร์นมินดาเนา (Northern Mindanao, Region X) เขตดาเวา (Davao Region, Region XI) ซอกสก์ซาร์เกน (SOCCSKSARGEN, Region XII) คารากาเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม (Autonomous Region in Muslim Mindanao, ARMM) เขตบริหารกอร์ดีเยรา (Cordillera Administrative Region, CAR) เขตนครหลวง (National Capital Region, NCR) (หรือ Metro Manila: เมโทรมะนิลา) (Central Luzon, Region III) (Eastern Visayas, Region VIII) (Caraga, Region XIII)
จังหวัด: Abra, Agusan del Norte, Agusan del Sur, Aklan, Albay, Antique, Apayao, Aurora, Basilan, Bataan, Batanes, Batangas, Biliran, Benguet, Bohol, Bukidnon, Bulacan, Cagayan, Camarines Norte, Camarines Sur, Camiguin, Capiz, Catanduanes, Cavite, Cebu, Compostela, Davao del Norte, Davao del Sur, Davao Oriental, Dinagat Islands, Eastern Samar, Guimaras, Ifugao, Ilocos Norte, Ilocos Sur, Iloilo, Isabela, Kalinga, Laguna, Lanao del Norte, Lanao del Sur, La Union, Leyte, Maguindanao, Marinduque, Masbate, Mindoro Occidental, Mindoro Oriental, Misamis Occidental, Misamis Oriental, Mountain Province, Negros Occidental, Negros Oriental, North Cotabato, Northern Samar, Nueva Ecija, Nueva Vizcaya, Palawan, Pampanga, Pangasinan, Quezon, Quirino, Rizal, Romblon, Samar, Sarangani, Siquijor, Sorsogon, South Cotabato, Southern Leyte, Sultan Kudarat, Sulu, Surigao del Norte, Surigao del Sur, Tarlac, Tawi-Tawi, Zambales, Zamboanga del Norte, Zamboanga del Sur, Zamboanga Sibugay
เมือง: Alaminos, Angeles, Antipolo, Bacolod, Bago, Baguio, Bais, Balanga, Batac, Batangas, Bayawan, Bislig, Butuan, Cabadbaran, Cabanatuan, Cadiz, Cagayan de Oro, Calamba, Calapan, Calbayog, Candon, Canlaon, Cauayan, Cavite, Cebu, Cotabato, Dagupan, Danao, Dapitan, Davao, Digos, Dipolog, Dumaguete, Escalante, Gapan, General Santos, Gingoog, Himamaylan, Iligan, Iloilo, Isabela, Iriga, Kabankalan, Kalookan, Kidapawan, Koronadal, La Carlota, Laoag, Lapu-Lapu, Las Pinas, Legazpi, Ligao, Lipa, Lucena, Maasin, Makati, Malabon, Malaybalay, Malolos, Mandaluyong, Mandaue, Manila, Marawi, Marikina, Masbate, Mati, Meycauayan, Muntinlupa, Munoz, Naga, Navotas, Olongapo, Ormoc, Oroquieta, Ozamis, Pagadian, Palayan, Panabo, Paranaque, Pasay, Pasig, Passi, Puerto Princesa, Quezon, Roxas, Sagay, Samal, San Carlos (in Negros Occidental), San Carlos (in Pangasinan), San Fernando (in La Union), San Fernando (in Pampanga), San Jose, San Jose del Monte, San Juan, San Pablo, Santa Rosa, Santiago, Silay, Sipalay, Sorsogon, Surigao, Tabaco, Tacloban, Tacurong, Tagaytay, Tagbilaran, Taguig, Tagum, Talisay (in Cebu), Talisay (in Negros Occidental), Tanauan, Tangub, Tanjay, Tarlac, Toledo, Tuguegarao, Trece Martires, Urdaneta, Valencia, Valenzuela, Victorias, Vigan, Zamboanga (2009)
ฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 และได้แถลงนโยบายและผลงานประจำปีต่อรัฐสภา (State of the Nation Address) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 สรุปว่า จะดำเนินตามนโยบาย 10 ประการที่ได้ประกาศไว้ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้แก่
ประธานาธิบดีอาร์โรโยมีแนวคิดจะแก้ไข รัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น แบบรัฐสภา และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการปกครองยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากหลายฝ่าย ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนยันจะคงผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปหลังจาก การเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม 2550
ฟิลิปปินส์ประสบปัญหากลุ่มก่อความไม่สงบในหมู่เกาะมินดาเนา แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่
ในด้านความมั่นคง รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ ต่าง ๆ ในทุกภูมิภาค โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน การหารือทางการเมือง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในด้านต่าง ๆ การลงนามความตกลงทวิภาคี รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหารและความมั่นคงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการแลกเปลี่ยนการฝึกร่วมทางทหารทั้งในระดับทวิภาคี (กับสหรัฐฯ) อาทิ Balikatan และระดับพหุภาคี (กับสหรัฐฯ ไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ) อาทิ Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Cobra Gold และ Team Challenge
ฟิลิปปินส์ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันในกรอบความร่วมมือและเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ อาเซียน กรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation - FEALAC ซึ่งฟิลิปปินส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรี FEALAC เมื่อวันที่ 30 - 31 มกราคม 2547) การประชุม Pacific Islands Forum และการประชุมต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีลักษณะพิเศษกับสหรัฐฯ เนื่องจากความเกี่ยวพัน ทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าในปัจจุบันฟิลิปปินส์จะดำเนินนโยบายต่างประเทศกับสหรัฐฯ ในลักษณะสองทิศทาง คือ พยายามเป็นอิสระ (โดยยกเลิกการให้สหรัฐฯ ใช้ฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิก (Subic) และฐานทัพอากาศคลาร์ก (Clark) แต่ก็ยังคงเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้ฐานทัพ ฟิลิปปินส์ของกองทัพสหรัฐฯ (Visiting Force Agreement - VFA) เมื่อปี 2541
ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 17 - 24 พฤษภาคม 2546 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ตอบโต้การก่อการร้ายและสงครามในอิรักของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ภายใต้งบประมาณจำนวน 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ ลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งเงินจากสหรัฐฯ ไปฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ในสหรัฐฯ เสียค่าใช้จ่ายในการส่งเงินกลับประเทศน้อยลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังประกาศยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าบางประเภทจากฟิลิปปินส์ และเพิ่มสวัสดิการความช่วยเหลือแก่ทหารผ่านศึกในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ
ในส่วนของการทูตเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการโดย
423.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
4,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
3.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ด สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา
ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา
1.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
51% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
9.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
50.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้
65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ ธัญพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก
เปโซ (Philippine Peso)
PHP
การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ในปี 2551 มีมูลค่า 5,789.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.38 ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ 3,512.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.62 และนำเข้าจากฟิลิปปินส์ 2,277.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,235.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์ประมาณร้อยละ 3.5 สินค้าออกรายการสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจาก ฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบอุปกรณ์ยานพาหนะ รถยนต์นั่ง เครื่องจักรกล สินแร่โลหะและเศษโลหะ เครื่องมือทางการแพทย์ ยาสูบ สัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ขยายตัว คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน เงินรายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การลงทุนภาครัฐบาลในโครงการระบบสาธารณูปโภค สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เคื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลงทาง การค้าเมื่อปี 2542 และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางด้านการค้า (Joint Trade Commission - JTC) ภายใต้ความตกลงดังกล่าว และทั้งจะพิจารณาจัดการประชุม JTC ครั้งที่ 1 ต่อไป ภายในปี 2550
รัฐบาลฟิลิปปินส์ปัจจุบันให้ความสนใจ กับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทย ดังจะเห็นได้จากการประกาศโครงการ "One Town, One Product, One Million Pesos" ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และกองทุนหมู่บ้านของไทย นอกจากนั้น ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังประกาศใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ย่อมโดยดูตัวอย่างจากไทยอีกด้วย
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ได้แก่ บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนฟิลิปปินส์มาลงทุนในไทยในระดับน่าพอใจ บริษัทฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทย เช่น บริษัท Universal Robina บริษัท San Miguel และ Liwayway Food Industries
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2492 เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบันคือ นางอัชฌา ทวีติยานนท์ และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย และเป็นประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย และเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ทั้งสองฝ่ายมีกลไกส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (Joint Commission - JC) ตั้งเมื่อปี 2536 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ
ทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม (ประชุมครั้งที่ 1 ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 1-4 มีนาคม 2537 ครั้งที่ 2 ที่ภูเก็ต เมื่อวันที่ 27-29 เมษายน 2540 ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 10-13 มิถุนายน 2542และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ครั้งที่ 4 ในวันที่ 26 มีนาคม 2550)
สำหรับท่าทีของฝ่ายฟิลิปปินส์ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น ประธานาธิบดีอาร์โรโยกล่าวว่า ฟิลิปปินส์ร่วมกับประชาคมโลกเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ (the rule of law) และกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด และในฐานะเพื่อนบ้านและพันธมิตรอาเซียน ฟิลิปปินส์อยู่เคียงข้าง ประชาชนชาวไทยในการแสวงหาและนำมาซึ่งสันติภาพและความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และมองว่าเป็นการดีที่เหตุการณ์ทางการเมืองในไทยที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน และโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีได้ออกแถลงการณ์ว่า ฟิลิปปินส์รู้สึกคลายความกังวลที่สถานการณ์ทาง การเมืองในไทยได้คลี่คลายลง และสถานที่ราชการและธุรกิจต่างๆ ได้เปิดทำการดังเดิม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ปรารถนาที่จะเห็นสันติภาพและความสามัคคีเกิดขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่คาดว่าจะมีการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยไทยยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของฟิลิปปินส์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย และการแก้ไขปัญหาความยากจน หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ
ไทยกับฟิลิปปินส์มีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด อาทิ การจัดส่งนักเรียนนายร้อย ของไทยเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ การแลกเปลี่ยนนายทหารเข้าอบรมในหลักสูตรเสนาธิการ ทหาร การแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษาในหลักสูตรวิชาทหารต่าง ๆ การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ โดยฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกคอบร้าโกลด์ และได้เข้าร่วมการฝึก Command Post Exercise (CPX) ในปี 2547 ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลไทยได้มอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-10 ซึ่งปลดประจำการแล้วของกองทัพอากาศตามคำขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย จำนวน 8 ลำ ในปี 2546-47
ไทยและฟิลิปปินส์มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์มาไทย 198,443 คน ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจัด Business Matching และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือทางการบินระหว่างกันและจะให้มีการเจรจาการบินภายในปี 2550
ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2518 และ เมื่อปี 2539 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้จัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าและเด็กพิการ และสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ด้วย
นอกจากนี้ เมื่อปี 2542 เนื่องในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปีของการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ฟิลิปปินส์ได้มีการจัดพิมพ์แสตมป์ที่ระลึก ใช้ชื่อประเทศไทยเป็นชื่อ ถนน Rada (Thailand) Street ในกรุงมะนิลาและตั้งวงเวียนมิตรภาพฟิลิปปินส์-ไทยที่กรุงมะนิลา ส่วนประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อซอยข้างสถานเอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ในกรุงเทพฯ (ซอยสุขุมวิท 30/1) เป็น "ซอยฟิลิปปินส์"
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยจัดงานเทศกาลอาหารไทยต่อเนื่องมาหลายปี จนเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนในกรุงมะนิลามากขึ้นและมีการพูดถึงในสื่อมวลชนฟิลิปปินส์ ซึ่งในงานมีร้านอาหารไทยในกรุงมะนิลาและผู้นำเข้าสินค้าไทยร่วมออกร้าน มีการสาธิตการทำอาหารไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการจัดงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ในปี 2549 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรม ดังนี้
คณะสื่อมวลชนชั้นนำของฟิลิปปินส์ได้เดินทางเยือนไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยฝ่ายไทยได้ จัดให้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลเหล่านี้นำข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยกลับไปเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ และในแต่ละปีได้มีการประกวดเรียงความเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับนักเรียนและนักศึกษาในฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของฟิลิปปินส์มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากขึ้น
ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับฟิลิปปินส์ โดยจัดสรรทุนฝึกอบรมประจำปีให้แก่บุคลากรฟิลิปปินส์ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การเกษตร ประมง สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การพัฒนาชุมชน และไทยได้มอบเงินช่วยเหลือมูลค่ากว่า 30 ล้านบาทแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์สำหรับเป็นเงินทุนสร้างศูนย์เก็บรักษาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวที่มหาวิทยาลัยปังกาสินัน รวมทั้งได้จัดสรรทุนฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญฟิลิปปินส์ซึ่งจะปฏิบัติงานที่ศูนย์แห่งนี้ด้วย
ในปี 2549 ไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฟิลิปปินส์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น มอบเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินถล่มที่จังหวัด Southern Leyte เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 และบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 ตัน ให้ผู้ประสบภัยจากไต้ฝุ่นทุเรียน ซึ่งเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากที่สุดที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 โดยนายกรัฐมนตรีได้ส่งสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ด้วย
กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย
เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900