ธง
คำขวัญ
-
ชื่อทางการ
-
ความเป็นมา
-
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต ที่เหลือติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล
พื้นที่
38,394 ตารางกิโลเมตร (7.5% ของไทย)
อาณาเขต
-
สภาพภูมิประเทศ
-
สภาพภูมิอากาศ
มีความหลากหลาย บริเวณที่ราบตอนใต้มีอากาศแบบเขตร้อน บริเวณหุบเขาทางตอนกลางของประเทศมีอากาศร้อนและหนาวตามฤดูกาล ส่วนบริเวณเทือกเขาหิมาลัยมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและอากาศเย็นในฤดูร้อน
ทรัพยากรธรรมชาติ
-
ภัยธรรมชาติ
-
จำนวนประชากร
774,800 คน (2558) คน
อัตราการเติบโตของประชากร
-
สัญชาติ
ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ 1) ชาชอฟ (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก 2) นาล็อบ (Ngalops) ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก และ 3) โชซัม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้
ศาสนา
ศาสนาพุทธมหายาน นิกายกายุบปา (Kagyupa) ซึ่งมีลามะเช่นเดียวกับทิเบต ร้อยละ 75 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติชาชอฟ และนาล็อบ) และศาสนาฮินดู ร้อยละ 25 (ส่วนใหญ่เป็น
ชนเชื้อชาติโชซัมทางภาคใต้ของประเทศ)
ภาษา
ซงข่า (Dzongkha) เป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษใช้เป็นสื่อกลางในสถาบันการศึกษาและในการติดต่อธุรกิจ ภาษาทิเบตและภาษาเนปาลมีใช้ในบางพื้นที่
แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
รูปแบบการปกครอง
ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
(His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ทรงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งภูฏาน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551
เมืองหลวง
กรุงทิมพู (Thimphu)
วันที่ได้รับเอกราช
-
รัฐธรรมนูญ
-
ฝ่ายบริหาร
- นายกรัฐมนตรี นายเชอริ่ง ต็อบเกย์ (H.E. Lyonchhen Tshering Tobgay)
-
รมว.กต. นายแดมโช ดอร์จี (H.E. Mr. Damcho Dorji)
-
ออท. ภูฏาน/ปทท. นายเกซัง วังดี (H.E. Mr. Kesang Wangdi)
ระบบกฏหมาย
-
ฝ่ายนิติบัญญัติ
-
ฝ่ายตุลาการ
-
การแบ่งการปกครอง
เมืองพาโร (Paro) เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ เมืองพูนาคา (Punaka) เป็นเมืองหลวงเก่า ปัจจุบันใช้เป็นพระราชวังฤดูหนาว
การเมืองการปกครอง
-
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
1.962 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP รายบุคคล (GDP per Capita)
2,379 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตของ GDP
ร้อยละ 3.3
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price)
ร้อยละ 8.2, ไทย : ร้อยละ 1.9
เงินทุนสำรอง
1.245 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ไทย : 157.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน
-
หนี้สาธารณะ
-
ทรัพยากรธรรมชาติ
-
ผลผลิตทางการเกษตร
-
อุตสาหกรรม
ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ
อัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม
-
ภาคการผลิต
-
ภาคการบริการ
-
ดุลบัญชีเดินสะพัด
-
มูลค่าการส่งออก
-
สินค้าส่งออก
ยิปซั่ม ไม้ซุง สินค้าหัตถกรรม ปูนซีเมนต์ ผลไม้ พลังน้ำ อัญมณี และเครื่องเทศ
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)
มูลค่าการนำเข้า
-
สินค้านำเข้า
น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ข้าว ธัญพืช เครื่องจักรและชิ้นส่วนรถยนต์ และผ้า
ประเทศคู่ค้า(นำเข้า)
สกุลเงิน
เงินงุลตรัม (Ngultrum) อัตราแลกเปลี่ยน 1 งุลตรัมประมาณ 0.53 บาท
สัญลักษณ์เงิน
-
เศรษฐกิจสังคม
- ภาคเกษตร ประชากรร้อยละ 90 มีอาชีพทางการเกษตรและป่าไม้ โดยการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ในหุบเขา เศรษฐกิจของภูฏานขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 33.2 ของ GDP โดยสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ส้ม แอปเปิ้ล ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนม
- ภาคอุตสาหกรรม มีขนาดเล็กมาก มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนน้อย และมีเทคโนโลยีค่อนข้างล้าหลัง อุตสาหกรรมที่สำคัญของภูฏาน ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแคลเซียมคาร์ไบด์ อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมและบริการของภูฏานมีการเติบโตมากขึ้นกว่าภาคการเกษตร ในปี 2550 ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตร้อยละ10.4 และภาคบริการมีการเติบโตร้อยละ 5.7 ในขณะที่ภาคการเกษตรมีการเติบโตร้อยละ 2.5 ส่วนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในประเทศดำเนินไปค่อนข้างช้า และแทบทั้งหมดต้องอาศัยแรงงานที่อพยพมาจากอินเดีย
- ภูฏานเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมั่นคงและมีดุลการชำระเงินดี แต่ภูฏานต้องพึ่งพิงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ประมาณร้อยละ 33 ของ GDP เศรษฐกิจของภูฏานยังคงมีความผูกพันกับอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าและเงินกู้แก่ภูฏานอยู่มาก ขณะนี้ ภูฏานอยู่ระหว่างการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือจากตะวันตกและญี่ปุ่น
- รายได้สำคัญของภูฏานมาจากการส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไปขายให้แก่อินเดีย ในช่วงแผนพัฒนา (5 ปี) ฉบับที่ 8 (2541-2546) รัฐบาลภูฏานได้สร้างเขื่อนขึ้นใหม่อีก 3 แห่งคือ เขื่อนคูริชู (Kurichhu) เขื่อนบาโชชู (Bashochhu) และเขื่อนทาลา (Tala) ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกันได้เป็นปริมาณถึง 1,125.8 เมกกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้สำหรับนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป
- ภูฏานเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเก็บภาษีน้อยที่สุด รายได้จากการเรียกเก็บภาษีคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.3 ของรายได้รัฐบาล และภาษีจากภาคธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำให้แก่อินเดีย เงินปันผล ค่าภาคหลวง ภาษีสรรพสามิต และรายได้จากสาธารณูปโภค
- ขณะนี้ภูฏานอยู่ภายใต้แผนพัฒนาประเทศ (5 ปี) ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551 - 2556) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สภาพสังคม
- สังคมของภูฏานเป็นสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย ประชาชนดำเนินชีวิตตามวิถีทางพุทธศาสนานิกายมหายาน และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาช้านาน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากพระราโชบายของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก (สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4) พระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันที่ต้องการให้ภูฏานอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีของตนไว้ เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนภูฏานใส่ชุดประจำชาติ การอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น และสถาปัตยกรรมแบบภูฏาน ทั้งนี้ แม้จะมีนโยบายเปิดประเทศแต่ภูฏานก็สามารถอนุรักษ์จารีตทางสังคมไว้ได้
- สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฏาน โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก เป็นที่เคารพรักของประชาชนมาก เพราะนอกจากจะเป็นกษัตริย์นักพัฒนาแล้วความเป็นกันเองของพระองค์ในการเสด็จ เยี่ยมราษฎรและการเข้าถึงประชาชน ทำให้พระองค์ทรงเป็น “กษัตริย์ของประชาชน” อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการปลี่ยนแปลงภูฏานให้เป็นสังคม สมัยใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทรงใช้หลัก “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness – GNH) แทนการวัดการพัฒนาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มปรัชญาในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” โดยความคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความพึงพอใจ มากกว่าวัดการพัฒนาด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทั้งนี้ พระองค์ได้ข้อสรุปจากบทเรียนความผิดพลาดในการพัฒนาของโลกในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าประเทศจำนวนมากเข้าใจว่าการพัฒนา คือ การแสวงหาความสำเร็จทางวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้แลกความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสูญเสีย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีทางธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งหลายประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าประชาชนไม่ได้มีความสุขที่แท้จริง
ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness – GNH)
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มปรัชญาในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” โดยความคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความพึงพอใจ มากกว่าวัดการพัฒนาด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทั้งนี้ พระองค์ได้ข้อสรุปจากบทเรียนความผิดพลาดในการพัฒนาของโลกในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าประเทศจำนวนมากเข้าใจว่าการพัฒนา คือ การแสวงหาความสำเร็จทางวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้แลกความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสูญเสีย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีทางธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งหลายประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าประชาชนไม่ได้มีความสุขที่แท้จริง
- อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติก็มิได้ปฏิเสธการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาด้านต่างๆ จะต้องสมดุลกัน โดยรัฐบาลภูฏานได้พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ประชาชนรทั้ง 4 ได้ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายและแผนงานของรัฐบาลทุกด้าน
- ในทางปฏิบัติ ภูฏานได้บรรจุแนวคิดนี้ให้อยู่ในแผนพัฒสามารถแสวงหาและได้รับความสุขโดยยึด หลักแนวคิดดังกล่าวเป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถรับมือกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อสิ่งท้าทายของโลก โดยมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) การส่งเสริมวัฒนธรรม และ 4) ธรรมรัฐ ซึ่งหลักการนี้ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาประเทศระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2542 (แผนพัฒนาประเทศ (5 ปี) ฉบับที่ 1 เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2504) โดยเน้นการพัฒนาในทุกสาขาของสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญด้านสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การขจัดปัญหาสังคมและความยากจน พร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยทั้งหมดจะดำรงอยู่ด้วยกันในลักษณะกลมกลืนตามหลักพุทธศาสนามหายาน
-- ไม่มีข้อมูล --