เพื่อประโยชน์ในการติดต่อหรือค้นหาข้อมูล กรุณาอัพเดตข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน
สิทธิประโยชน์ที่หน่วยงานของท่านจะได้รับในการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังนี้: ส่งคำถามโดยตรงไปยังซัพพลายเออร์ โพสต์คำขอของผู้ซื้อ ดูคำขอของผู้ซื้อ สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ซื้อโดยตรง สมัครตอนนี้!
-
สาธารณรัฐคีร์กีซ (คีร์กีซ: Кыргыз Республикасы; รัสเซีย: Кыргызская Республика)
-
อยู่ในเอเชียกลาง ทางทิศตะวันตกของจีนและทิศใต้ของคาซัคสถาน (ระหว่างเทือกเขาเทียนชานและพาเมียร์)
198,500 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 7
-
-
ภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป
-
-
5.7 ล้านคน (2557)
-
คีร์กิซและรัสเซีย
สาธารณรัฐคีร์กีซมีการปกครองระบบสภาเดียวเรียกว่า Jogorku Kenesh มีวาระ 5 ปี โดยภายหลังจากการลงประชามติเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่นั่งของผู้แทนเพิ่มขึ้นจาก 90 ที่นั่งเป็น 120 ที่นั่ง
บิชเคก (Bishkek)
31 สิงหาคม (เรียกว่าวันประกาศเอกราช เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2534 หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต)
ผลจากการลงประชามติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งลดอำนาจประธานาธิบดี โดยให้รัฐสภาและนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเพิ่มขึ้น โดยประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียง 6 ปี โดยไม่สามารถลงเลือกตั้งซ้ำในวาระต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดียังคงเป็นผู้นำแห่งรัฐ และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ มีหน้าที่กำหนดนโยบายการต่างประเทศ ความมั่นคง ตลอดจน มีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง นอกจากนี้ ประธานาธิบดียังมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในกรณีที่พรรคใดพรรคหนึ่งไม่ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา
-
-
ศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ โดยผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิพากษาทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา โดยมีวาระคราวละ 10 ปีแต่ตั้งจากรัฐสถา (Jogorku Kengesh) โดยคำแนะนำของประธานาธิปดี
แบ่งเป็น 8 จังหวัดและ 1 เมืองปกครองอิสระ* ได้แก่ Bishkek,Batken, Chui, Jalal-Abad, Naryn, Osh, Talas Issyk-Kul Osh*
นับแต่สาธารณรัฐคีร์กีซได้แยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2534 มีการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยนาย Kurmanbek Bakiev ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 หลังจากที่ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 โดยผู้ชุมนุมประท้วงราวหมื่นคนได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของรัฐบาล และโค่นล้มประธานาธิบดี Askar Akayev ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี 2533 ในสมัยของโซเวียตและอยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศมาตั้งแต่ประกาศเอกราชรวมระยะเวลา 15 ปี อย่างไรก็ตาม ความนิยมและการสนับสนุนที่มีต่อประธานาธิบดี Bakiev ได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องมาจากการบริหารประเทศอย่างไม่มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความยากจน อาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดี Bakiev เรื่อยมา จนในเดือนพฤศจิกายน 2549 ประชาชนในกรุงบิชเคกซึ่งเป็นเมืองหลวงของ คีร์กีซได้ออกมาประท้วงและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของประธานาธิบดี และเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดี Bakiev ยินยอมลงนามในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่แก้ไขเนื้อหาตามที่ประชาชนเรียกร้องเพื่อยุติการชุมนุม แต่หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีการผ่านร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและคืนอำนาจกลับสู่ประธานาธิบดี ทำให้พรรคฝ่ายค้านออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Bakiev แก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง รวมถึงกดดันให้ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ประธานาธิบดี Bakiyev ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่ออีกสมัยเป็นเวลา 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2557
เมื่อเดือนเมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในสาธารณรัฐคีร์กีซ โดยประชาชนได้รวมกันประท้วงและขับไล่นายคูมานเบ็ก บาคิเอฟ (Kurmanbek Bakiev) ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งด้วยปัญหาการทุจริต การบริหารประเทศอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งภายหลังจากการลาออกของนายบาคิเอฟในเดือนเมษายน 2553 ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวนำโดยนางโรซ่า โอตุนบาเยวา (Roza Otunbayeva) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐคีร์กิซเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราว
ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวคีร์กีซเชื้อสายอุซเบกและชาวคีร์กีซในทางตอนใต้ของประเทศจากข้อขัดแย้งในเรื่องการครอบครองพื้นที่ทำการเกษตรกรรมในภาคใต้ของสาธารณรัฐคีร์กิซ ซึ่งรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐคีร์กิซได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหพันธสาธารณรัฐรัสเซียในการแก้ไขปัญหาจนยุติลงด้วยดี
จากนั้น รัฐบาลชั่วคราวได้จัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2553 เพื่อปรับแก้รัฐธรรมนูญใหม่และขอมติในการแต่งตั้งนางโอตุนบาเยวาให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับการตอบรับจากชาวคีร์กิซในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ และให้นางโอตุนบาเยวาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการจนถึงสิ้นปี 2554 และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 รัฐบาลสาธารณรัฐคีร์กิซได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว ซึ่งปรากฏผลอย่างไม่เป็นทางการว่า นายอัลมาซเบ็ก อาตามบาเอฟ (Almazbek Atambayev)
7.64 พันล้าน USD
1,341 USD
ร้อยละ 3.0
9.80 %
-
-
-
-
-
เครื่องจักรขนาดเล็ก สิ่งทอ อาหารแปรรูป ซีเมนต์ รองเท้า ไม้ซุง ตู้เย็น เฟอร์นิเจอร์
-
-
-
-
-
ทองคำ น้ำมันปิโตรเลียม สินค้าโภคภัณฑ์ พลังงานไฟฟ้า ฝ้าย ขนสัตว์ เสื้อผ้า เนื้อสัตว์ ยาสูบ ทอง ปรอท ยูเรเนียม
-
น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร
ซุม KGS 1บาท = 1.97 KGS (สถานะ ณ เม.ษ. 2558)
-
-
กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย
เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900