ธง
คำขวัญ
-
ชื่อทางการ
-
ความเป็นมา
-
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดกับซีเรีย ทิศตะวันออกติดซาอุดีอาระเบีย ทิศตะวันตกติดกับอิสราเอล และทิศใต้ติดกับทะเลแดง
พื้นที่
89,206 ตารางกิโลเมตร (ไทยมีขนาดใหญ่กว่า 5.7 เท่า)
อาณาเขต
-
สภาพภูมิประเทศ
-
สภาพภูมิอากาศ
อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อย กลางวันมีแดดจัดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส และอุณภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส
ทรัพยากรธรรมชาติ
-
ภัยธรรมชาติ
-
จำนวนประชากร
6.6 ล้านคน (2555) ครึ่งหนึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ ประกอบด้วย เชื้อชาติ อาหรับ ร้อยละ 98 เซอร์คัสเซียน ร้อยละ 1 และอาร์มาเนียน ร้อยละ 1
อัตราการเติบโตของประชากร
-
สัญชาติ
-
เชื้อชาติ
ศาสนา
ภาษา
อาหรับเป็นภาษาราชการ แต่ชาวจอร์แดนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษ
รูปแบบการปกครอง
ระบอบราชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการใช้รัฐธรรมนูญ เป็นระบบ 2 สภา ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภา (Majlis al-Ayan) และสภาผู้แทนราษฎร (Majlis al-Nuwaab) และมีนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้ารัฐบาล
เมืองหลวง
กรุงอัมมาน (Amman)
วันที่ได้รับเอกราช
25 พฤษภาคม
รัฐธรรมนูญ
-
ฝ่ายบริหาร
-
ระบบกฏหมาย
-
ฝ่ายนิติบัญญัติ
-
ฝ่ายตุลาการ
-
ประมุข
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่สอง อิบน์ อัล-ฮุสเซน (H.M. King Abdullah II Ibn Al-Hussein)
นายกรัฐมนตรี
นายอับดุลลาห์ เอ็นซูร์ (H.E. Dr. Abdullah Al Ensour)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
10 พฤศจิกายน 2509
การแบ่งการปกครอง
เมืองซาร์กา (Zarka) เมืองอีร์บิด (Irbid) และเมืองท่าอะกาบา (Aqaba)
การเมืองการปกครอง
- จอร์แดนเคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักรระหว่างปี 2464-2489 หลังจากได้รับเอกราช ได้เปลี่ยนชื่อจาก Emirate of Transjordan เป็นราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan) ปกครองโดยราชวงศ์ฮัชไมต์ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ อิบน์ อัล ฮุสเซนที่ 2 พระประมุขของจอร์แดนพระองค์ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 4 พระองค์ทรงกระทำสัตย์สาบานต่อรัฐสภาจอร์แดน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 และขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน (พระราชบิดา) ซึ่งเสด็จสวรรคต และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 จอร์แดนได้ฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ทรงครองราชสมบัติเป็นปีที่ 10
- จอร์แดนปกครองระบอบราชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2495 เป็นบรรทัดฐาน มีนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้ารัฐบาล จอร์แดนมี 2 สภา ได้แก่ วุฒิสภา (Majlis al-Ayan) จำนวน 40 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีวาระ 4 ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Majlis al-Nuwaab) ที่มาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน มีวาระ 4 ปี จำนวน 120 คน
- การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปสมัยที่ 16 และสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายซาเมียร์ ริฟาอี ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง รวมทั้งโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีตามที่นายซาเมียร์ ริฟาอีเสนอ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้คัดเลือกคณะรัฐมนตรีเองทั้งหมด
- นโยบายของนายริฟาอีที่ต้องการให้ปฏิรูประบบตลาดให้ราคาสะท้อนสภาพตลาดที่แท้จริงและการปล่อยให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น ส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ และทำการประท้วงเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554 โดยผู้ประท้วงกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการประท้วงในตูนีเซียและอียิปต์ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 รัฐบาลได้ประกาศแผนฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ (economic package) มูลค่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่การประท้วงยังคงเกิดขึ้นอีก
- เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ได้ประกาศปลดคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร. มารุฟ บากิท (Dr. Marouf Bakhit) อดีตนายกรัฐมนตรี (ปี 2548 - 2550) ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดย ดร. บากิทฯ ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554
- ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงถึงปลายเดือนมีนาคม 2554 ทุกเกือบวันศุกร์ได้มีประชาชนออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งทำการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นและได้เกิดการปะทะกันกับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บกว่า 150 คน จนถึงปัจจุบันยังคงมีการประท้วงในจอร์แดนอย่างประปรายและอยู่ในวงกำจัด
- สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดนได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีเร่งแก้ไขปัญหา ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณฉบับแก้ไขสำหรับปี 2554 จำนวน 6.36 พันล้านดีนาร์จอร์แดน (ประมาณ 286 พันล้านบาท) โดยเพิ่มมาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาความยากจนและโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานแก่ชาวจอร์แดน นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงเรียกร้องให้ประชาชนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และทรงสัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปประเทศให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
- เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554 ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะเป็นผลจากความกดดันและการแสดงออกของประชาชนที่ออกมาเดินขบวนประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่เพิ่มความถี่ขึ้นในช่วงปลาย เดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2554 นอกจากนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลล่าห์ ที่ 2 ทรงกล่าวว่าได้มีการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองที่จะส่งผลให้ชาวจอร์แดนมีส่วนร่วมการเมืองของมีมากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ดร. มารุฟ บากิท นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่ง และสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ที่ 2 ได้ทรงแต่งตั้งนายอูน เชาว์กัค อัล-คาเซาว์เนห์ (H.E. Mr Awn Shawkat Al-Khasawneh) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ดร. มารุฟ บากิท
- สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ที่ 2 ทรงมุ่งมั่นที่จะทำให้จอร์แดนมีระบบการปกครองที่มั่นคงและมีสังคมการเมืองแบบพหุนิยม ทรงปฏิรูประบบการบริหารประเทศโดยยึดความโปร่งใส และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ทรงมีบทบาทในการออกกฎหมายเพื่อประกันสิทธิสตรี และให้สตรีมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของจอร์แดน และทรงเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจของจอร์แดนให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน พระองค์สนพระทัยในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการศึกษาให้ทันสมัย
นโยบายต่างประเทศ
- จอร์แดนอยู่ติดกับอิสราเอล ปาเลสไตน์และอิรัก ทำให้ต้องดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังเพื่อคงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจอร์แดนจึงดำเนินนโยบายส่งเสริมแนวทางอิสลามสายกลาง เป็นมิตรกับทุกประเทศและเน้นหลักการไม่ใช้กำลังในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ จอร์แดนเป็นประเทศพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโต้ (Major Non-NATO Ally - MNNA) ตั้งแต่ปี 2539
- จอร์แดนให้ความสำคัญกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ และสนับสนุนความพยายามของกลุ่มสี่ฝ่าย (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย และสหประชาชาติ) ในการผลักดัน แผนสันติภาพ (Road Map) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ในกรอบเวลาที่ชัดเจน และยืนยันตาม Arab Peace Initiative ที่เรียกร้องให้อิสราเอลคืนดินแดนที่ยึดครองให้แก่ปาเลสไตน์ ซีเรียและเลบานอนตามเขตอาณาก่อนปี 2510 สนับสนุนการตั้งปาเลสไตน์เป็นรัฐอิสระโดยมีกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวง เพื่อนำไปสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอลให้เป็นปกติ จอร์แดนได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรจอร์แดน ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเพียงอาหรับประเทศเดียวนอกเหนือจากอียิปต์ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและได้ลงนามในความตกลงสันติภาพกับอิสราเอล
นอกจากนี้ จอร์แดนยังเป็นภาคีความตกลง Qualifying Industrial Zone (QIZ) ซึ่งเป็นความริเริ่มของสหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง เขตอุตสาหกรรมตามความตกลงนี้ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมในจอร์แดน (10 แห่ง) และในอิสราเอล ซึ่งสหรัฐฯ จะนำเข้าสินค้าที่ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยไม่เก็บภาษีศุลกากรและไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า แต่ทั้งนี้ สินค้านั้นจะต้องมีมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลและจอร์แดนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ความตกลงนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของจอร์แดน เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีจากสินค้านี้ในระดับสูง
- จอร์แดนสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอิรักและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอิรัก โดยไม่แทรกแซงกิจการภายในของอิรัก และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้การสนับสนุนอิรัก
- จอร์แดนประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและเห็นว่า การใช้กำลังทหารไม่เพียงพอที่จะจัดการปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ แต่ต้องพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย จอร์แดนปฏิเสธความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา ดังที่สะท้อนไว้ใน Amman Message เมื่อปี 2547 ที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และผู้นำศาสนามุสลิมที่สำคัญจัดทำขึ้นเพื่อการกำหนดแนวทางและการชี้แนะหลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลามเพื่อป้องกันการบิดเบือนหลักคำสอน นอกจากนี้ จอร์แดนรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายแล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ
- ในอดีตจอร์แดนเคยทาบทามขอเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศคณะมนตรีรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) แต่ไม่ได้รับการตอบรับ อย่างไรก็ดี ผลจาการผลักดันของซาอุดีอาระเบียทำให้ในที่สุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 GCC ได้ตกลงใจที่พิจารณาจะรับจอร์แดนเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้จอร์แดนได้รับประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
38.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)
GDP รายบุคคล (GDP per Capita)
4,541.9 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)
อัตราการเติบโตของ GDP
ร้อยละ 2.6 (ปี 2555)
GDP แยกตามภาคการผลิต
-
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price)
-
อัตราการว่างงาน
-
หนี้สาธารณะ
-
ผลผลิตทางการเกษตร
-
อุตสาหกรรม
-
อัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม
-
ภาคการผลิต
-
ภาคการบริการ
-
ดุลบัญชีเดินสะพัด
-
มูลค่าการส่งออก
-
สินค้าส่งออก
-
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ -
มูลค่าการนำเข้า
-
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
-
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ -
สกุลเงิน
-
สัญลักษณ์เงิน
-
ภาวะเศรษฐกิจ
- จอร์แดนเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 เป็นทะเลทรายไม่มีแหล่งน้ำจืดและน้ำมัน รายได้หลักร้อยละ 66.5 ของจอร์แดนอันดับหนึ่งจึงมาจากภาคบริการในสาขาต่างๆ อาทิ การธนาคารและการประกันภัย คมนาคม การท่องเที่ยว จากภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และจากภาคเกษตรกรรมเพียงร้อยละ 3.5 จอร์แดนได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาผ่านสำนักงาน USAID เป็นจำนวนเงินกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชากรจอร์แดนร้อยละ 14.2 ยังคงอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน (poverty line) อย่างไรก็ดี รัฐบาลจอร์แดนไม่เก็บภาษีผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 จอร์แดนดีนาร์ต่อปี แต่สำหรับผู้มีรายได้เกินกว่านั้นต้องเสียภาษีร้อยละ 25-30 ตามระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า (progressive) มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 16และจอร์แดนมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6
- จอร์แดนให้ความสำคัญกับการศึกษา มีอัตราการรู้หนังสือถึงร้อยละ 90 ส่งผลให้จอร์แดนส่งออกบุคลากรแพทย์ วิศวกร หรือในสาขาที่ต้องการความเชี่ยวชาญจำนวนมากไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศริมอ่าว เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ ส่งรายได้กลับเข้ามายังจอร์แดนถึงปีละ 2-3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ชาวจอร์แดนในประเทศไม่นิยมทำงานที่ต้องใช้แรงงาน เช่น การเก็บขยะ การก่อสร้าง จึงก่อให้เกิดการจ้างแรงงานต่างชาติในจอร์แดนจากประเทศอียิปต์ ซีเรีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น
- จอร์แดนนำเข้าพลังงานร้อยละ 96 ของการใช้พลังงานภายในประเทศ โดยจอร์แดนนำเข้ากระแสไฟฟ้าบางส่วนจากอียิปต์ แต่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมันที่นำเข้าและมีพลังงานทดแทนคือการผลิตไฟฟ้าจากกำลังลม ปัจจุบันมีการประมูลอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากกำลังลมเพื่อติดตั้งระบบกังหันลมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกำลังพิจารณาทางเลือก 2 แนวทางเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คือการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (จอร์แดนมีแหล่งแร่ยูเรเนียมในภาคกลางประมาณ 130,000 ตัน สามารถขุดพบได้ที่ระดับความลึก 1.5 เมตร และมีคุณภาพเหมาะสม น่าจะสามารถทดแทนการใช้พลังงานโดยรวมได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 ซึ่งคาดการณ์ว่าต่อไปจอร์แดนจะสามารถส่งออกยูเรเนียมได้) และการผลิตไฟฟ้าจากหินน้ำมัน (oil shale) ซึ่งสำรวจพบแล้ว 42 พันล้านตัน และสามารถกลั่นเป็นน้ำมันได้ 28 พันล้านบาร์เรล ซึ่งบริษัท BP ได้เริ่มสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซเพิ่มเติมบริเวณชายแดนระหว่างจอร์แดน - อิรักในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552
- แม้ว่าเศรษฐกิจของจอร์แดนจะได้รับผลกระทบจากการราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ลดลง แต่ก็มีการพัฒนาสำคัญในช่วง 5 – 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจาก การปฏิรูปทางเศรษฐกิจหลังจากที่จอร์แดนประสบวิกฤตหนี้ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1980 จอร์แดนเปิดเสรีทางการค้าปฏิรูปด้านนโยบายการคลัง แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) อาทิ ระบบสื่อสาร สายการบิน Royal Jordanian และอุตสาหกรรมฟอสเฟต มีการผ่านกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมีหน่วยงานอิสระทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
- รัฐบาลจอร์แดนยกเลิกนโยบายที่ก่อให้เกิดการบิดเบือน (distortion) ทางเศรษฐกิจและปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น อาทิ ยกเลิกการพยุงราคาน้ำมันที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้น และพยายามสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนด้วยการผ่านกฎหมายทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ฉบับ พัฒนาสาธารณูปโภค และจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ Aqaba โดยใช้แรงจูงใจในการยกเว้นภาษี พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน ทั้งด้านการขนส่ง logistics การธนาคาร และการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และการบริการในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะการเป็นประตูการค้าการลงทุนสู่อิรัก
- ปัญหาที่ยังคงท้าทายสำหรับรัฐบาลจอร์แดน ได้แก่ ความยากจน อัตราการว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 12 - 15 และการอพยพของชาวอิรักที่ปัจจุบันอาศัยในจอร์แดน จำนวนไม่ต่ำกว่า 500,000 คน ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรที่จำกัดของจอร์แดน
- จอร์แดนส่งออกเสื้อผ้า เวชภัณฑ์ โปแตซ และฟอสเฟต และนำเข้าน้ำมันดิบ วัตถุดิบสิ่งทอ ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิรัก อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย จีนและเยอรมนี จอร์แดนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปี 2543 ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปและบังคับใช้ความตกลงการค้าเสรีที่ทำกับสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2544 และมีความตกลงการค้าเสรีกับสิงคโปร์ เมื่อปี 2547เป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่มีระหว่างประเทศอาหรับกับประเทศในเอเชีย
ด้านการเมือง
ประเทศไทยกับจอร์แดนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และได้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด เช่น OIC, Non Aligned Movement, Human Security Network และ OSCE เป็นต้น
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยและจอร์แดนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นและใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นลำดับ กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดนเสด็จฯ เยือนไทยในปี 2547 2548 และ 2549 เพื่อร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเยือนสำคัญระหว่างสองประเทศได้แก่ การเสด็จฯ เยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมือปี 2542 การเสด็จเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และสมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลเลาะห์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 17 - 22 เมษายน 2549
ในจอร์แดนมีคนไทยอาศัยอยู่ประมาณ 340 คน เป็นแรงงานด้านงานบริการโรงแรม ช่างทอง ลูกเรือสายการบิน Royal Jordanian นักธุรกิจ และผู้ติดตาม จำนวน 191 คน และนักศึกษาจำนวน 50 คน
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับจอร์แดนยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่การค้าสองฝ่ายมีแนวโน้มขยายตัวขึ้น ในปี 2554 มีมูลค่าการค้ารวม 134.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 174.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้ากับจอร์แดน โดยส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบ ขณะที่ไทยนำเข้าปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสินแร่จากจอร์แดน นักธุรกิจไทยหลายรายให้ความสนใจจอร์แดนในฐานะเป็นประตูสู่อิรักและซีเรีย
การท่องเที่ยว
ในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวจากจอร์แดนมาไทยประมาณ 17,000 คน ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปจอร์แดนประมาณ 2,600 คน
ความร่วมมือที่สำคัญ
- ความร่วมมือด้านฝนหลวง กระทรวงน้ำและชลประทาน (Ministry of Water and Irrigation) ของจอร์แดนขอส่งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคมาศึกษาดูงานการทำฝนหลวงในประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรม ราชานุญาตแล้ว (ตุลาคม 2552) โดยเจ้าหน้าที่จอร์แดนจำนวน 4 คน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 19 – 23 กรกฎาคม 2553 นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน ได้จัดโครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากกรมอุตุนิยมวิทยาและสำนักฝนหลวงเดินทางไปศึกษาความเป็นไปได้ในการทำฝนหลวงในจอร์แดน ระหว่างวันที่ 6-14 เมษายน 2554 พบว่า สามารถทำฝนหลวงได้ในจอร์แดน และล่าสุด ทางการจอร์แดนได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะมีความร่วมมือด้านฝนหลวงกับประเทศไทยเพื่อนำเทคโนโลยีฝนหลวงไปใช้ในจอร์แดนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
- ด้านการศึกษาและฝึกอบรม strong>
ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษาระหว่างกัน ฝ่ายไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมนานาชาติผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเป็นประจำทุกปี สาขาที่จอร์แดนสนใจและเข้ารับการอบรม อาทิ การจัดการด้านชลประทาน การบริหาร ธุรกิจส่งออก การพยาบาล การควบคุมโรคติดต่อ และการเกษตร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลจอร์แดนมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาไทยปีละ 5 ทุน เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 - 2551 โดยมอบทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาในสาขากฎหมายอิสลาม อิสลามศึกษา ภาษาอาหรับและอักษรศาสตร์
- สมาคมมิตรภาพจอร์แดน-ไทย strong>
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 สมาคมมิตรภาพจอร์แดน-ไทย (Jordanian-Thai Friendship Association) ได้จัดประชุมใหญ่สมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคม และได้คัดเลือกประธานและกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธาน คือ นายอีหมาด ชาคาทรีห์ (Mr. Emad Shakhatreh) และได้เชิญนายอับเดล ราอูฟ อัล-ราวาบเดห์ (Mr. Abdel Raouf Al- Rawabdeh) อดีตนายกรัฐมนตรีจอร์แดนเป็นประธานกิตติมศักดิ์
สมาคมฯ ได้นำนักธุรกิจและสมาชิกของสมาคมฯ จำนวน 200 คน มาจัดงานนิทรรศการ Jordan Week in Thailand ระหว่างวันที่ 3 - 7 มีนาคม 2553 ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างจอร์แดนและไทย และแนะนำสินค้าและศิลปวัฒนธรรมจอร์แดนและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวแก่ชาวไทย และ Jordan Investment Board (JIB) ได้เข้าร่วมงานนิทรรศการดังกล่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในจอร์แดนด้วย โดยสาขาที่จอร์แดนสนใจ ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม สุขภาพ การขนส่ง เครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงานทางเลือก พลาสติก สิ่งทอ โทรคมนาคม เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อาหาร โลหะ การท่องเที่ยวและโรงแรม การเงินการธนาคาร เวชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้ จอร์แดนพยายามชี้จุดแข็งของการเป็นประตู (gateway) สู่ภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิรัก
การเยือนของบุคคลสำคัญ
- ฝ่ายไทย (พระราชวงศ์)
- ปี 2542 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ 17 – 22 เมษายน 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจอร์แดนในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และสมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลเลาะห์
- ฝ่ายไทย (รัฐบาล)
- วันที่ 12-13 มกราคม 2527 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนจอร์แดน เพื่อขอบคุณรัฐบาลจอร์แดนที่ช่วยเหลืออพยพแรงงานไทยเกือบ 5,000 คน ในสงครามอิรัก-อิหร่านเข้ามาพักในจอร์แดน
- วันที่ 1-5 เมษายน 2548 พลอากาศเอกอนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะจากกองบัญชาการทหารสูงสุดเดินทางไปเยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกองทัพจอร์แดน ตามคำเชิญของพลเอก Khalid J. Al-Sarayreh ประธานเสนาธิการทหารของจอร์แดน
- วันที่ 25-26 เมษายน 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการ และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน
- วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2548 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Petra Conference of Noble Laureates ณ เมือง Petra และเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม World Economic Forum on the Middle East ที่ทะเลสาบ Dead Sea เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และพบหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน
- วันที่ 4-6 กรกฎาคม 2548 นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นำคณะผู้แทนไทยมุสลิมไปเข้าร่วมการประชุม International Islamic Conference on True Islam and Its Role in Modern Society ตามคำเชิญของราชสำนักจอร์แดน
- วันที่ 19-22 มิถุนายน 2549 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม Conference of Nobel Laureates Petra II
- วันที่ 7-10 กรกฎาคม 2549 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทยเดินทางเยือนจอร์แดน และหารือกับนาย Sharif Zubi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมจอร์แดน
- วันที่ 17-18 กันยายน 2552 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูตประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ณ กรุงอัมมาน และหารือกับนาย Nasser Judeh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจอร์แดน
- ฝ่ายจอร์แดน (พระราชวงศ์)
- วันที่ 25-27 กันยายน 2526 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 31 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2547 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ และเสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 สิงหาคม 2547
- วันที่ 15 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2
- วันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ ร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ฝ่ายจอร์แดน (รัฐบาล )
- วันที่ 10-13 กันยายน 2547 พล.ท. Khalid J. Al-Sarayreh ประธานคณะเสนาธิการ ทหารเดินทางเยือนไทย
- วันที่ 6-11 พฤศจิกายน 2547 ดร. Amal El-Farhan กระทรวง Municipal Affairs เดินทางมาร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียงในไทย
- วันที่ 2-5 ตุลาคม 2548 นาย Akel Biltaji ที่ปรึกษาสมเด็จพระราชาธิบดี อับดุลเลาะห์ที่ 2 เดินทางมาเข้าร่วมประชุม Global Summit, Peace Through Tourism ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา
- วันที่ 4 ธันวาคม 2549 ดร. Adel Tweisi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจอร์แดนเข้าพบหารือกับคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม